ทักษะการสื่อสารด้านการเขียน (ภาษาอังกฤษ)

ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาทักษะความเป็นสากลให้แก่บุคลากร เพื่อส่งเสริมบทบาทของบุคลากรในองค์การต่อประชาคมอาเซียนนั้น จำเป็นต้องมีการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานและเป็นการเตรียมความพร้อมให้บุคลากรในการแข่งขันกับพลเมืองอื่นของอาเซียนเพื่อก้าวย่างสู่การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน ยังผลให้เกิดการเข้าใจ รับรู้ เกิดการปรับตัว และอยู่อย่างมีความสุข

การสื่อสารด้วย  “ภาษาอังกฤษ”  เป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่งที่บุคลากรในองค์การต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการเขียนภาษาอังกฤษ บันทึกและจดหมายธุรกิจ ให้สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและสามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และพร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน

วัตถุประสงค์

  1. เข้าใจพื้นฐานในการสื่อสารด้านการเขียนภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเขียนประโยคซับซ้อน เพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านภาษาอังกฤษในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC : Asean Economic Community)
  2. รู้ถึงการจัดระบบความคิดเพื่อผลิตประโยคในการสื่อสารด้านการเขียนภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างไม่รู้จบ
  3. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาตนเอง ด้านการสื่อสารการเขียน(ภาษาอังกฤษ) ทางธุรกิจให้เกิดผล
  4. เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เขียนด้วยกลยุทธการใช้ “โครงสร้าง” และ “กระบวนการ”

หัวข้อสัมมนา

  1. มาตรฐาน(Standard)

   – จุดมุ่งหมายของการสื่อการเขียน (Business writing purpose)

   – ความสำคัญและหลักการในการ “เขียนที่ดี” เชิงธุรกิจ (Effectiveness of business writing)

   – มาตรฐานการพัฒนา และขั้นตอนการ “เขียนที่ดี” (Basic for good business Writing skills)

   – เทคนิคการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อการ “เขียนที่ดี” (English business writing Technic)

  1. กลยุทธ์(Strategies)

   – กลยุทธ์ และกระบวนการ “นักเขียนที่ดี” (Standard and  process of good writing strategies)

   – รูปแบบการเขียน “จดหมาย” “บันทึก”  และ “E-mail” (Standard Patterns of Letter, Memo and E-mail)

  1. กรณีศึกษากลุ่ม และฝึกปฏิบัติ(Group Case Study / Workshop)

   – ฝึกปฏิบัติกลุ่ม (Group Case Study)

    – การนำเสนอผลงาน (Presentation)

   – การประเมินผล (Analysis)

  1. สรุปผล – คำถาม / คำตอบ(Conclusion– Q & A)

วิทยากร   อาจารย์ประภาภรณ์ พนัสพรประสิทธิ์ อดีตเลขานุการฝ่ายจัดการและผู้จัดการฝ่ายบริหารงานทั่วไป บริษัท อุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย จำกัด (มหาชน), เลขานุการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสโซ่ แสตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด, เลขานุการผู้จัดการฝ่ายบุคคล บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), อาจารย์และวิทยากรอิสระในมหาวิทยาลัยและบริษัทชั้นนำต่างๆ, ผู้เขียนหนังสือ “ความสุขที่แท้จริงของอาชีพเลขานุการ”

ติดต่อสอบถาม

Tel : 02-577-5369

E-mail: contact.tesstr@gmail.com

Line id : @Tesstraining

Facebook : tesstrainingpage

Spread the love